พ่อแม่ตัดสินใจว่าถ้าพวกเขาอยู่ที่หมู่บ้านนี้ต่อ มันจะอันตรายเกินไป นั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อชิง ซานอายุ 20 ปี
ในประเทศเมียนมาร์ กลุ่มชาติพันธุ์ชิน (Chin People) ถือเป็นชนกลุ่มน้อย และผู้ที่นับถือคริสต์ก็เป็นคนกลุ่มน้อยเช่นกัน กองทัพทหารพม่าในเวลานั้นจะมาเอาคนจากหมู่บ้านของเธอไปบังคับให้ทำงานหนักและบังคับให้ประกอบพิธีศาสนาอื่น
พวกเขาจึงเดินทางเข้าสู่ประเทศไทย และลี้ภัยที่ค่ายผู้ลี้ภัยที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศอยู่กว่า 14 ปี พ่อแม่ของเธอยังอาศัยอยู่ในค่ายจนถึงปัจจุบัน แม้จะไม่ได้รับการศึกษา แต่พ่อแม่ของเธอส่งเสริมลูกทุกคนให้ได้เรียนสูง การศึกษาสำคัญสำหรับพวกเขา แต่พ่อแม่ของเธอรู้ดีว่านี่คือหนทางที่ลูกจะได้มีชีวิตที่ดีกว่า
ต่อมา ชิงซานได้จบการศึกษาระดับอนุปริญญาด้านมนุษยศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยออสเตรเลียนคาทอลิก (Australian Catholic University) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้คนที่เรียนจบจากค่ายผู้ลี้ภัยได้รับวุฒิการศึกษาที่เป็นทางการและนำไปใช้งานได้จริง
หลังจากจบการศึกษา ชิงซานถือเป็นสาวเนื้อหอมสำหรับหลายองค์กร เธอคล่องแคล่วในการใช้ภาษาอังกฤษ เมียนมาร์ และชิน เธอมีความรู้ เป็นคนกว้างขวาง และเป็นคนประเภทที่ถ้าตั้งใจจะทำอะไรแล้ว เธอจะทำให้สำเร็จจนได้ ชิงซานเลือกมาทำงานกับมูลนิธิร่มไม้ เพราะ “ครอบครัว” สำคัญอย่างยิ่งยวดสำหรับเธอ ชิงซานเป็นพี่สาวคนโตของน้องๆ อีก 7 คน และพวกเขาอยู่ด้วยกันอย่างอบอุ่น เธอเชื่อว่าครอบครัวคือรากฐานของทุกสิ่งในชีวิต เธอจึงอธิษฐานของพรพระเจ้าที่จะได้ทำงานร่วมกันองค์กรที่ถือคุณค่าสอดคล้องกับเธอ มูลนิธิร่มไม้ซึ่งมุ่งมั่นในการเยียวยาครอบครัว เสริมสร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัว และปกป้องครอบครัวให้ได้อยู่ร่วมกันจึงเป็น “ที่นั่น” สำหรับเธอ
“ฉันรักการทำงานที่นี่ ฉันชอบที่เราทุกคนเป็นเหมือนหนึ่งครอบครัวใหญ่”
เมื่อชิงซานอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัย ชิงซานและผู้ลี้ภัยคนอื่นๆ จำนวนหนึ่งได้รับการอบรมจากหน่วยงาน American Refugee Community ในเรื่องการดำเนินการกลุ่มออมทรัพย์และกองทุนชุมชนในรูปแบบ Village Savings and Loan Associations (VSLA) แม่ของเธอยังเป็นเจ้าหน้าที่ดูแลกลุ่มลักษณะนี้ในค่ายผู้ลี้ภัยมาเป็นเวลายาวนาน ชิงซานมีหัวใจกระตือรือร้นที่จะช่วยแรงงานข้ามชาติให้ได้เรียนรู้เรื่องการออมเงินและวางแผนเพื่ออนาคตเช่นเดียวกับที่เธอเคยได้รับโอกาส เธอสังเกตเห็นว่าครอบครัวแรงงานข้ามชาติบ่อยครั้งต้องเผชิญกับเงื่อนไขขข้อจำกัดทางสังคมที่มากกว่าครอบครัวในค่ายผู้ลี้ภัย เธอจึงเริ่มต้นดำเนินการโครงการนี้ ซึ่งกลายเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ประสบความสำเร็จอย่างมากทีเดียว
นอกจากจะอบรมชุมชนต่างๆ ให้จัดตั้งและดูแลกลุ่มออมทรัพย์และกองทุนเพื่อครอบครัวในชุมชนของตัวเองแล้ว ชิงซานยังได้เริ่มต้นธุรกิจของเธอเอง เธอรับเสื้อผ้าประจำชาติพันธุ์ชินมาขายในประเทศไทย เธอเล่าว่า “ฉันไม่อยากเอาแต่สอนคนอื่นให้ทำแล้วตัวเองไม่ทำ ฉันต้องการเป็นแบบอย่างในการลงทุนจากเงินออมก้อนเล็กๆ และทำธุรกิจขนาดย่อมให้กับชุมชนที่ฉันให้การอบรม”
หลายคนเมื่อเจอเธอครั้งแรกอาจรู้สึกกลัว ด้วยบุคลิกที่ดูแข็งๆ ตรงไปตรงมา เริ่มอะไรแล้วมักมุ่งมั่นทำจนสำเร็จ แต่แท้จริงแล้วชิงซานทำทุกอย่างด้วยหัวใจและความรักต่อผู้อื่น เธอรักครอบครัวของเธออย่างสุดหัวใจ เธอรักเด็ก รักพระเจ้าของเธอ และเธอไม่เคยว่างเว้นจากกิจกรรมช่วยเหลือชุมชนไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่ง วันหนึ่งเธออย่างจะมีครอบครัวของตัวเองด้วยเช่นกัน