• กลุ่มออมทรัพย์เปลี่ยนขยะเป็นสมบัติ
    มะจูจูโมอยากจะเริ่มต้นธุรกิจเล็กๆ ของตัวเอง แต่เธอและอองมิวตู่ สามีของเธอไม่มีเงินมากพอที่จะลงทุน เธอเลยต้องทำอะไรสักอย่างที่ใช้เงินลงทุนเพียงเล็กน้อยและต้นทุนต่ำ เธอตัดสินใจที่จะทำธุรกิจเกี่ยวกับการรีไซเคิลเพราะมันดีต่อสิ่งแวดล้อมและเริ่มลงทุนได้ง่าย เมืองแม่สอดมีผู้คนมากมายพยายามหาเลี้ยงตัวเองด้วยวิธีการอะไรก็แล้วแต่ที่พวกเขาจะทำได้ บางคนขี่จักรยานไปทั่วเมืองเพื่อหาขยะรีไซเคิลไปขาย แต่มะจูจูไม่อยากพเนจรไปทั่วเมืองเพื่อหาขวดเพราะเธอยังมีลูกอีก 2 คนที่ต้องดูแล การหาขวดอาจทำให้ภาระของเธอเยอะกว่าเดิม เธอจึงตัดสินใจที่จะรับซื้อขวดรีไซเคิลแทน เธอใช้เงินเพียงเล็กน้อยเพื่อซื้อขวดและวัสดุรีไซเคิลอื่นๆ ที่คนนำมาขายให้เธอ จากนั้นเธอก็นำของทั้งหมดไปขายต่อที่ร้านรับซื้อของรีไซเคิลซึ่งให้ราคาสูงกว่าที่เธอซื้อมา ธุรกิจของเธอยังช่วยรังสรรค์ให้ชุมชนของเธอมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยเมื่อเทียบกับชุมชนส่วนใหญ่ เพราะคนในชุมชนของเธอส่วนมากเลือกที่จะนำขยะรีไซเคิลมาให้เธอซื้อแทนที่จะปล่อยให้ขยะวางอยู่เกลื่อนกลาดตามพื้นที่ทั่วไป แต่ก็มีบ่อยครั้งที่มะจูจูไม่มีเงินพอสำหรับซื้อขวด เธอต้องหยิบยืมเงินจากเพื่อนบ้านเพื่อช่วยให้ธุรกิจเล็กๆ ของเธอดำเนินต่อไป จนวันหนึ่ง ทีมเสริมทักษะทางการเงิน (Family Enterprise) จากมูลนิธิร่มไม้ได้เข้าไปที่ชุมชนของเธอและแนะนำให้คนในชุมชนร่วมกันจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อครอบครัว พร้อมอธิบายว่ากลุ่มออมทรัพย์ทำงานอย่างไร หลายคนในชุมชนของมะจูจูร่วมกันตัดสินใจและเริ่มออมเงินด้วยกัน มะจูจูเล่าให้เราฟังว่า “เดี๋ยวนี้ถ้าฉันมีเงินไม่พอสำหรับธุรกิจตัวนี้…
  • ฉันทำธุรกิจได้ดีขึ้น เรื่องราวจากมะมิ้นเมี๊ยะตู่
    “ตอนฉันยังเด็ก ครอบครัวฉันลำบากมาก ต้องดิ้นรนให้พอมีอยู่มีกิน” มะเมี๊ยะมิ้นตู่บอกเล่าเรื่องราวการสู้ชีวิตของเธอ การผันตัวมาทำธุรกิจ ชีวิตที่ดีขึ้นหลังเข้าร่วมกลุ่มออมทรัพย์เพื่อครอบครัวและการอบรมการทำธุรกิจกับมูลนิธิร่มไม้ เธอได้มอบสิ่งที่เธอไม่ได้รับในวัยเด็กให้กับลูก นั่นคือโอกาสทางการศึกษาและการออมเงินเพื่ออนาคต เธอฝันว่าวันหนึ่งเธอจะได้กลับบ้านและขยายธุรกิจของเธอให้ใหญ่ขึ้น
  • เมล็ดพันธุ์ผัก…เสริมการเยียวยาที่ยั่งยืน (โครงการ Soap N Hope: Phase 3)
    ระยะสุดท้ายของมาตรการล็อคดาวน์ช่วง COVID-19 เราพบว่าหลายครอบครัวสูญเสียรายได้ หลายครอบครัวดึงเอาเงินออมมาใช้จ่ายจนจวนหมด และหลายครอบครัวต้องอยู่ในภาวะหนี้สินเพิ่มขึ้นเท่าตัว สำหรับครอบครัวที่พยายามจะตั้งตัวจากผลกระทบทางเศรษฐกิจนั้น เมล็ดพันธุ์ผักสวนครัวเป็นตัวช่วยที่สำคัญอย่างยิ่ง
  • ต่อชีวิตช่วงวิกฤต…ด้วยอาหารและน้ำดื่มสะอาด (โครงการ Soap N Hope: Phase 2)
    ระหว่างโครงการ Soap N’ Hope ระยะแรก เราพบว่าปัญหาที่เร่งด่วนกว่าสำหรับครอบครัวจำนวนมากคือการขาดแคลนอาหารและบางชุมชนก็ขาดแคลนน้ำดื่มสะอาดด้วย
  • ล้างมือสะอาด ปราศจากโรค – (โครงการ Soap N Hope: Phase 1)
    นับตั้งแต่กลางเดือนมีนาคม 2563 มูลนิธิร่มไม้นำทีมเยาวชนอาสา 7 ทีม รวม 16 คนลงพื้นที่ไปยังชุมชนแรงงานข้ามชาติ เพื่อสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการระบาดของเชื้อโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ COVID-19 และวิธีการปกป้องดูแลตัวเองและครอบครัวง่ายๆ ด้วยการล้างมือด้วยสบู่อย่างถูกหลักอนามัย ซึ่งหลายคนไม่เคยรู้มาก่อน บรรยากาศเป็นยังไงกันบ้างตามมาชมภาพกันได้เลยค่ะ
  • สรุปผลการดำเนินงานและการรับมือกับวิกฤต COVID-19
    เมื่อ COVID-19 มาเคาะประตูถึงหน้าบ้าน ทุกคนก็ต้องปรับตัวกันครั้งยิ่งใหญ่ สำหรับมูลนิธิร่มไม้หัวใจของการทำงานยังคงเหมือนเดิม คือ การปกป้องเด็กและครอบครัวในภาวะวิกฤต เราปรับเปลี่ยนการทำงานหรือให้ความช่วยเหลือพวกเขาอย่างไรบ้างนั้น…. มาดูกันเลยค่ะ
  • ภารกิจพิเศษ: รับมือวิกฤต COVID-19 ในพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมาร์
    เมื่อสถานการณ์ COVID-19 เริ่มเป็นที่น่ากังวลยิ่งขึ้นโดยเฉพาะในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษชายแดนไทย-เมียนมาร์ อย่างอำเภอแม่สอด มูลนิธิร่มไม้จึงเริ่มภารกิจพิเศษเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่อาจส่งผลกับสุขภาพและความเป็นอยู่ของเด็กและครอบครัวยากจนจำนวนมาก
  • สร้างความผูกพันกับลูก: ฉันไม่รู้มาก่อนว่ามันสำคัญ
    “ฉันทำงานยุ่งตลอดเวลาเพราะจดจ่ออยู่กับการหาเลี้ยงพวกเขา แต่ไม่เคยให้เวลาสร้างความผูกพันกับลูกเลย ฉันไม่รู้มาก่อนว่ามันสำคัญ กลายเป็นว่าลูกๆ คิดว่าฉันไม่รักไม่ใส่ใจพวกเขา เพราะสิ่งที่เขาเห็นคือแม่ยุ่งจนไม่มีเวลาให้”
  • แม่วัยใสกับความหวังที่เปลี่ยนอนาคตลูกน้อยของเธอ
    ปีก่อน เราได้รับการติดต่อจากพยาบาลท่านหนึ่งในโรงพยาบาลแม่สอดว่า มีหญิงสาววัย 17 ปีคนหนึ่งที่หนีฝันร้ายจากคู่รักในประเทศพม่าที่ทำร้ายร่างกายเธออย่างสาหัสเดินทางมายังแม่สอดที่ที่แม่ของเธออาศัยอยู่ เธอรู้ว่าเธอตั้งครรภ์แล้ว แต่หลังจากการตรวจครรภ์ครั้งแรก สิ่งที่คู่รักของเธอทิ้งไว้ให้เธอพบเจอคือเชื้อเอช.ไอ.วี.  
  • รับลูกฉันไปเลี้ยงไหม?
    “ฉันไม่อยากเก็บลูกคนนี้ไว้เลย” ผู้หญิงคนหนึ่งบอกกับทุกคนระหว่างเดินทาง สามีของเธอเป็นคนไม่ดี “เขาไม่ทำมาหาเลี้ยงครอบครัว เอาแต่ดื่มตลอดเวลา เรามีลูกด้วยกัน 2 คนแล้ว ฉันคงไม่เก็บเด็กคนนี้ไว้เพราะฉันจนปัญญา ไม่รู้ว่าจะเลี้ยงยังไงไหว”