วาวาทวย – ผู้แบ่งปันวิชาการเลี้ยงลูก

I give families encouragement and advice on how to take care of each other. ฉันมอบกำลังใจและคำปรึกษาในการดูแลซึ่งกันและกันให้กับครอบครัว – วาวาลินไม่เคยวางแผนจะย้ายมาใช้ชีวิตในประเทศไทย แต่แม้ว่าเธอจะพยายามทุกวิถีทางที่จะไม่มา สุดท้ายเมื่อหลายปีก่อนเธอก็ถูกบังคับให้มาประเทศไทยกับแม่ของเธอ “ยังไงก็รู้สึกไม่เหมือนอยู่ที่บ้าน”…

Continue Reading →

มะมิ้นเหว่ – ผู้แบ่งปันวิชาการเลี้ยงลูก

I give encouragement. I am a good teacher and a calm presence. ฉันให้กำลังใจ ฉันเป็นครูที่ดีและนำความรู้สึกสงบไปในทุกที่ที่ฉันไป – มะเหว่ผ่านร้อนผ่านหนาวและได้เรียนรู้วิชาชีวิตมากมายนับตั้งแต่เธอย้ายมาอยู่ประเทศไทย การเปลี่ยนผ่านห่างไกลจากคำว่าราบรื่นมาก เริ่มแรกที่เธอต้องย้ายจากประเทศเมียนมาร์ เธอจำเป็นต้องทิ้งลูกคนโตไว้กับญาติ เธอเพิ่งจะคลอดลูกคนใหม่ไม่นาน…

Continue Reading →

ซาม – หัวหน้าทีมให้ความรู้แก่ครอบครัว

 แม้จะเกิดในแผ่นดินเมียนมาร์ แต่ซามได้เติบโตในค่ายผู้ลี้ภัยแห่งหนึ่งบนตะเข็บชายแดนไทย-เมียนมาร์ จังหวัดตาก ครอบครัวของเธอมีเชื้อสายชิน ชุมชนของเธอถูกโจมตีจากกองทัพทหารพม่าด้วยเหตุผลทางเชื้อชาติและศาสนา ช่วงหนึ่งในวัยเด็กเธอต้องอยู่กับป้าที่หมู่บ้านกะเหรี่ยงแห่งหนึ่ง เธอจึงไม่เคยพูดภาษาพม่าเลย จนกระทั่งได้ย้ายมาอยู่ที่ค่ายผู้ลี้ภัย ปัจจุบัน ซามพูดได้ 4 ภาษา ได้แก่ ภาษาเผ่าชิน กะเหรี่ยงปกากญอ เมียนมาร์ และอังกฤษ อีกทั้งกำลังเรียนภาษาไทยด้วย ซามได้มาร่วมงานกับมูลนิธิร่มไม้ในฐานะนักศึกษาฝึกงานในปีการศึกษาสุดท้ายของเธอที่โรงเรียน Wide…

Continue Reading →

ชิง ซาน – หัวหน้าทีมเสริมศักยภาพทางการเงิน

พ่อแม่ตัดสินใจว่าถ้าพวกเขาอยู่ที่หมู่บ้านนี้ต่อ มันจะอันตรายเกินไป นั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อชิง ซานอายุ 20 ปี ในประเทศเมียนมาร์ กลุ่มชาติพันธุ์ชิน (Chin People) ถือเป็นชนกลุ่มน้อย และผู้ที่นับถือคริสต์ก็เป็นคนกลุ่มน้อยเช่นกัน กองทัพทหารพม่าในเวลานั้นจะมาเอาคนจากหมู่บ้านของเธอไปบังคับให้ทำงานหนักและบังคับให้ประกอบพิธีศาสนาอื่น พวกเขาจึงเดินทางเข้าสู่ประเทศไทย และลี้ภัยที่ค่ายผู้ลี้ภัยที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศอยู่กว่า 14 ปี พ่อแม่ของเธอยังอาศัยอยู่ในค่ายจนถึงปัจจุบัน แม้จะไม่ได้รับการศึกษา แต่พ่อแม่ของเธอส่งเสริมลูกทุกคนให้ได้เรียนสูง…

Continue Reading →

เบิร์ด รัธพงษ์ – ผู้แบ่งปันวิชาการเลี้ยงลูก

ถ้าคุณได้เจอเบิร์ด คุณจะสังเกตยิ้มกว้างและความเป็นกันเองสุดๆ ของเขาได้ทันที เบิร์ดหรือ รัธพงษ์ เกิดที่ประเทศพม่า ตั้งแต่ยังเด็ก เบิร์ดต้องเจอกับการสูญเสียมากมาย พ่อของเขาเสียชีวิตท่ามกลางความขัดแย้งและรุนแรงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในประเทศพม่า เพราะเหตุการณ์นี้ แม่จึงตัดสินใจพาเบิร์ดย้ายมาอยู่ที่วัดแห่งหนึ่งซึ่งกลายเป็นที่เติบโตของเบิร์ด พออายุย่างเข้า 12 ปี เบิร์ดจึงย้ายมาประเทศไทยกับพี่ชายของเขาเพื่อมองหาชีวิตที่ดีกว่า เขาได้เข้าโรงเรียนประจำสำหรับเด็กต่างด้าว เขาไม่เพียงแต่ได้เรียนหนังสือ แต่ยังได้ฝึกเล่นฟุตบอล ซึ่งกลายเป็นกิจกรรมที่เขาชอบมากอย่างหนึ่ง การมีพี่ชายเรียนโรงเรียนเดียวกันทำให้เบิร์ดรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในชีวิตในช่วงเวลานั้นได้ง่ายขึ้น…

Continue Reading →

ติ่ง หน่อย – หัวหน้าทีมภาคสนามแม่สอด

I give energy and I show people their value.  ฉันส่งต่อพลังบวกและทำให้คนให้คุณค่าของตัวเอง  วิธีที่คนคนหนึ่งรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตทั้งในช่วงที่ยากลำบาก ช่วงที่น่าเบื่อหน่าย และช่วงที่ดี เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นเนื้อแท้ของคนๆ นั้นได้เป็นอย่างดี สำหรับตินตินนั้น เรียกได้ว่ามีคุณภาพสูง ตินตินผสมผสานความมั่นใจและความอ่อนน้อมถ่อมตนไว้ได้อย่างดีเยี่ยม ซึ่งเป็นส่วนผสมที่เหมาะเจาะกับงานที่เธอรัก คุณสมบัติเหล่านี้หยั่งรากในเรื่องราวของเธอ…

Continue Reading →

อารอน บลู – ผู้อำนวยการบริหารมูลนิธิร่มไม้

ทุกๆ วันจันทร์ อารอนจะเริ่มการประชุมทีมด้วยคำถามที่ว่า “เราจะทำดีให้ดีกว่านี้ได้อย่างไรบ้าง?” นี่คือประธานกรรมการบริหารมูลนิธิร่มไม้และ CEO องค์กรเดอะคาริสโปรเจ็ค องค์กรระดมทุนในสหรัฐอเมริกาเพื่อสนับสนุนโครงการของมูลนิธิร่มไม้ ประธานฯ ที่บางวันคุณจะเห็นเขาในบทบาทผู้อบรม บางวันก็เป็นคนขับรถ บางวันก็เป็นช่างตัดหญ้ารอบสำนักงาน “ในฐานะผู้นำ ผมมุ่งมั่นที่จะสร้างแรงบันดาลใจในการเป็นผู้นำที่คอยดูแลรับใช้ผู้อื่น” เขาเป็นนักคิดผู้มีวิสัยทัศน์และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความสามารถในการปรับตัวให้เท่าทันสถานการณ์หรือข้อมูลใหม่ๆ ของเขากลายมาเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมองค์กรที่โดดเด่นของมูลนิธิร่มไม้ อารอนเกิดที่เมืองวินนิเพ็ก เติบโตที่เมืองแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา…

Continue Reading →